ช่วยเราเติมเต็มข้อมูล

 บริษัทของเรามีศักยภาพในด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบ PCB การทำต้นแบบ มีประสบการณ์ออกแบบ  ไปจนถึงการผลิต งานวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ จึงมีการศึกษาค้นคว้าทดลอง และปรับปรุงเทคโนโลยี-องค์ความรู้ใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราตลอดเวลา ทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและทันสมัย องค์ความรู้ที่เรานำมาประยุกต์ ต่อยอดใช้ในการพัฒนาผลิตภันฑ์ได้แก่

แบตเตอรี่ ลิเธียม-ไอออน (Li-ion Battery)
ปัจจุบันแบตเตอรี่ Li-ion มีศักยภาพอย่างสูงที่จะมาทดแทนแบตเตอรี่ตะกั่วกรดทุกชนิดในงานด้านกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ เมื่อเรานำ DOD ที่ใช้งานจริงมาคำนวณจะพบว่า การใช้แบตเตอรี่ลิเธียมทดแทนแบตเตอรี่ตะกั่วกรดสามารถทำให้ต้นทุนต่ำลงได้ ซึ่งเราเลือกแบตเตอรี่ชนิด ลิเธี่ยม-ไอออน เป็นหัวใจหลักในระบบกักเก็บพลังงาน

รูปที่1 แบตเตอรี่ลิเธี่ยม-ไอออน ขนาด18650 และ BMS

 

DOD (Depth of discharge)คือความสามารถในการคายพลังงานของแบเตอรี่ หากดึงพลังงานแบตเตอรี่มากจะทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ต่ำลง หลายคนจึงนิยมใช้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ DOD เพียง 30% เพื่อให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยืนยาว นั่นคล้ายๆกับว่าเราซื้อถังเก็บน้ำ 100 ลิตร เติมน้ำสำรองไว้ 70 ลิตร และสามารถดึงน้ำมาใช้ได้ แค่30 ลิตรแล้วต้องรีบเติมน้ำใหม่เข้าไปสะสมไว้ใช้อีกเมื่อจำเป็น

 รูปที่ 2 DOD และ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด

หลายท่านที่ใช้แบตเตอรี่ตะกั่วกรดจึงพยายามรักษาแรงดันแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำเกินไปอยู่ตลอดเวลาอย่างสุดชีวิต แต่เมื่อเรามองไปที่แบตลิเธียม เทียบกับ แบตชนิดตะกั่วกรดแล้ว พบว่า แบตลิเธียมสามารถดิสชาร์จพลังงานได้เต็มที่กว่าและยังมีรอบอายุการใช้งานที่สูงอีกด้วย การควบคุมการดิสชาร์จของแบตลิเธียมว่าจะให้ใช้งานลึกแค่ไหนสามารถตั้งค่าด้วย BMS เพื่อกำหนดรอบอายุการใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียม โดยปกติแล้วสามารถทำ DOD ได้ถึง 100% โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เกิดความเสียหายใดๆ

รูปที่3  เปรียบเทียบ DOD ของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด VS ลิเธียม-ไอออน

 

รูปที่4  กราฟแสดง % การดิสชาร์จ พลังงานที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้ ระหว่างแบตเตอรี่ลิเธียม และ แบบตะกั่วกรด  ที่มา https://www.victronenergy.com/blog/2015/03/30/batteries-lithium-ion-vs-agm/

 

BMS (Battery Management System) 
เนื่องจากแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม นั้นมีแรงดันต่อเซลล์ประมาณ 3V ถึง 4V เมื่อต้องการใช้งานแบตเตอรี่ที่แรงดันสูงขึ้นจำเป็นต้องอนุกรมเซลล์แบตเตอรี่เพื่อเพิ่มแรงดัน การอนุกรมเซลล์แบตเตอรี่เพื่อใช้งาน เมื่อใช้งานไปซักระยะแรงดันภายในเซลล์จะไม่เท่ากันทำให้อัตราการชาร์จและคายประจุของแบตเตอรี่ไม่ใกล้เคียงกัน ยิ่งแรงดันในเซลล์เกิดอาการไม่เท่ากันเพียงเล็กน้อยเมื่อไหร่ ยิ่งเวลาใช้งานผ่านไปจะไม่เท่ากันมากขึ้นเรื่อยๆหากไม่มีระบบจัดการจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมอายุการใช้งานได้อย่างง่ายดาย ระบบจัดการแบตรี่จะประกอบไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จะคอยบาลานซ์เซลล์แบตเตอรี่ให้มีแรงดันเท่ากันอยู่เสมอ รวมถึงวงจรป้องกันอุณหภูมิ วงจรป้องกันการจ่ายกระแส และการชาร์จ 

 รูปที่5  BMS ที่บริษัทของเราพัฒนาด้วยตนเอง

 

ระบบชาร์จแบตเตอรี่แบบ MPPT (Maximum Power Point Tracking)  พื้นฐานวงจรภายในของโซล่าเซลล์นั้นมีค่าความต้านทานภายในที่แปรค่าตามแสงแดด วงจรชาร์จเจอร์ PWM ทั่วไปไม่สามารถที่จะดึงเอาจุดที่เกิดกำลังงานในการชาร์จได้สูงสุด แต่ในระบบ MPPT ของเรา ออกแบบระบบควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ที่จะคำนวณการจ่ายกำลังไฟฟ้าออกไปหาแบตเตอรี่ได้สูงสุดทุกช่วงเวลา แม้ในวันที่แสงแดดน้อย ระบบชาร์จแบตเตอรี่แบ MPPT จำเป็นมากที่จะรีดศักยภาพในการกักเก็บพลังงานจากโซล่าเซลล์ได้อย่างสูงสุด สินค้าของเราจึงเลือกระบบชาร์จแบบ MPPT และเราสามารถผลิดได้ด้วยตนเอง

 

 รูปที่6  MPPT Charger ที่บริษัทของเราพัฒนาด้วยตนเอง

 

อินเวอร์เตอร์กำลังสูง (Power Inverter) เรามีองค์ความรู้ในการออกแบบอินเวอร์เตอร์กำลังสูง เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้ในการขับมอเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วยประสบการณ์-ความชำนาญในออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์-สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย และการเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์

 รูปที่7  Power Inverter ที่ใช้ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุม 

 

คลิ้กที่นี่ถ้าลืมรหัสผ่าน
0.007965